ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและความเหลื่อมล้ำที่สะสมมานานของประเทศไทย ได้ทำให้ภาพการเรียกร้องสิทธิ์ของแรงงาน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ถึงแม้แรงงานในระบบที่ตกงานจะได้รับมาตรการช่วยเหลือจากประกันสังคม แต่ยังมีแรงงานนอกระบบอีกจำนวนมากที่ความช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึงเพราะปราศจากมาตรการช่วยเหลือเยียวยาถ้วนหน้า
แม้ก่อนหน้านี้ โครงการคนละครึ่ง จะสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการกระจายรายได้แก่คนกลุ่มต่าง ๆ ได้ในระยะสั้น แต่เศรษฐกิจของประเทศไทยและคุณภาพชีวิตแรงงานไทยในระยะยาวก็ไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้น หรือข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาประชาชนถ้วนหน้าก็ยังไม่มีวี่แว่วจะได้รับการตอบสนอง

(11 มกราคม 2564)
จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยว่าในไตรมาส 3 ของปี 2563 ว่า อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับที่สูง ในไตรมาสที่ 3 พบว่ามีผู้ว่างงานมากขึ้น มีตัวเลขสูงถึง 7.4 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.90 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.95 จากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรง และด้วยการระบาดระลองที่ 2 ในช่วงต้นปี 2564 ทำให้คุณภาพชีวิตแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบยังไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้น ซึ่งด้วยข้อจำกัดทางการคลังทำให้มาตราการเยียวถ้วนหน้าที่จะนำไปสู่รัฐสวัสดิการยังห่างไกลจากสังคมไทย
อ้างอิง
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5492
เรื่อง: ธารภัทร คงแก้ว | Junior News Reporter